top of page
Menu

5 ขั้นตอน ถ่ายรูปอาหารสำหรับทำเมนู

IMG_0268.JPG

5 ขั้นตอน ถ่ายรูปอาหารสำหรับทำเมนู

 

สิ่งแรกที่ลูกค้าจะสัมผัสได้จากการเข้าไปในร้านอาหารก็คงไม่พ้นการดูเมนูอาหาร ทุก ๆอย่างที่อยู่ในเมนูนั้น จะทำให้ลูกค้าสั่งอาหารได้ง่ายขึ้น และภาพถ่ายอาหารที่อยู่ในเมนู ก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าเช่นกัน นอกจากรูปเล่มเมนูที่จะมีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าแล้วนั้น การถ่ายภาพอาหารสำหรับทำเมนู ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เราจะมาแนะนำขั้นตอนหลัก ๆ สำหรับการถ่ายรูปอาหารสำหรับทำเมนู ตั้งแต่เริ่มแรกไปจนถึงการได้เมนูอาหารมาไว้ที่ร้านว่าจะมีขั้นตอนอะไรบ้าง

                     1. กำหนดรูปแบบเมนูอาหารที่ต้องการ

ขั้นตอนแรกจะต้องคิดก่อน ว่าตัวเจ้าของร้านเองอยากจะได้เมนูแบบไหน โดยที่จะต้องดูปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งเราเองจะแนะนำขั้นตอนคร่าว ๆ ไว้ดังนี้

  • จำนวนหน้าเมนูอาหารที่ต้องการใช้งาน เช่น เป็นเมนูอาหารหน้าหลัง , เป็นเล่มเมนูอาหาร เป็นต้น

  • รูปเมนูอาหารที่ต้องการนำมาใส่ เช่น ใส่เมนูแนะนำจำนวน 5 ภาพ ,เมนูอื่น ๆ 10 ภาพ และที่เหลืออาจจะเป็นแค่ตัวอักษร

  • กำหนด Artwork และ Layout ของเมนูให้เป็นไปตามที่เจ้าของร้านต้องการ

  • รูปเล่มหรือรูปแบบการพิมพ์ที่อยากได้ เราจะเห็นว่าบางร้านเลือกที่จะเมนูเพียงหน้าเดียว หรือบางร้านเป็นเล่มเมนูเลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน เช่นความต้องการของลูกค้าเอง จำนวนเมนูของร้าน รูปแบบของร้าน เป็นต้น โดยอาจจะต้องสอบถามไปยังโรงพิมพ์ว่ามีการพิมพ์แบบไหนบ้าง กระดาษแบบไหน รวมถึงการเข้ารูปเล่มแบบไหนบ้าง

    ตัวอย่างเมนูอาหารที่ต้องการ

1.png
2.png

                     2. ถ่ายรูปเมนูอาหาร ที่ต้องการนำมาใส่ในเมนู

การถ่ายภาพอาหารสำหรับทำเมนูนั้น โดยปกติการถ่ายจะมี 2 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งจะสอดคล้องกับ Artwork หรือ รูปแบบเมนูอาหารที่เราออกแบบไว้ข้างต้น ขั้นตอนนี้ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะลูกค้าเองจะเห็นอาหารที่ร้านขายจากเมนูของเรา โดยการถ่ายภาพอาหารสำหรับทำเมนูหลัก ๆ จะเป็นดังนี้

2.1 ถ่ายรูปอาหารพร้อมพร็อพตกแต่ง : เราจะเห็นภาพสวย ๆ ของร้านอาหารต่าง ๆ ที่จะเอาหารมาวางประกอบกับของตกแต่งต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การกิน วัตถุดิบเป็นต้น ซึ่งข้อดีของการถ่ายภาพอาหารสำหรับการทำเมนูในลักษณะนี้คือเราสามารถนำรูปที่ถ่ายมาใส่ในเมนูอาหารได้เลย เนื่องจากภาพมีการตกแต่งมาอยู่แล้ว เพิ่มการวาง Layout ที่เหมาะสม เมนูอาหารของคุณก็จะโดดเด่นขึ้นมาแล้วค่ะ













 

2.2 ถ่ายรูปฉากขาว : หลาย ๆ ร้านก็จะเลือกการถ่ายภาพอาหารสำหรับเมนูในลักษณะนี้ ก็คือแค่ถ่ายอาหารอย่างเดียว เน้นๆ ซึ่งเมื่อภาพที่ได้เป็นฉากขาวนั้น ก็จะง่ายต่อการนำภาพมาไดคัท (การลบพื้นหลังสีขาวออก ให้เหลือแต่อาหารเท่านั้น) ซึ่งจะสามารถนำภาพมาทำกราฟฟิคที่ยืดหยุ่นได้มากกว่าแบบพร๊อพตกแต่ง

84ซาชิมิ-salmoncombo.jpg
วัวนู้ด09727.jpg

                     3. นำรูปอาหารจากข้อ 2. ให้ทางกราฟฟิคทำ Artwork หรือ Lay out เมนูให้ตรงกับรูปแบบที่วางไว้

11สุโก้ยย ซูซิ-01.jpg

                     4. ตรวจสอบความถูกต้องของเมนูอาหาร ก่อนนำส่งพิมพ์







 

IMG_8031.JPG

                     5. นำไฟล์งานที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว จัดส่งให้กับทางโรงพิมพ์

506A5418.jpg
IMG_8209.JPG

สนใจถ่ายภาพอาหาร หรือออกแบบเมนูอาหารสามารถติดต่อมาได้เลยที่ 

th.png

Line OA : @achiistudio

  • Facebook
  • YouTube
  • Instagram
bottom of page